วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำนำของสื่อการสอน

หนังสือสำหรับเด็กเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาความพร้อมทางด้านภาษา เนื่องจากเด็กได้มีโอกาสฟังเรื่องราว ได้ดูภาพ ได้พูดคุยสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราว ของหนังสือ นอกจากนี้ยังได้ใช้กระบวนการคิดจากการตอบคำถาม หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เรื่องธรรมชาติรอบตัวชุดนี้มี ๑๐ เล่ม เล่มละ ๕ เรื่อง จัดทำขึ้นตามประสบการณ์การเรียนรู้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (กิจกรรมวงกลม) ใน แต่ละวัน เป็นการบูรณาการทักษะกระบวนการ และเนื้อหาสาระต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ด้านภาษาและจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเรื่องกล้วยมหัศจรรย์ เล่มนี้ใช้ประกอบการสอนกิจกรรม เสริมประสบการณ์ ประกอบด้วยคำคล้องจอง ๕ คำคล้องจอง คือ ลักษณะของข้าว การปลูกข้าว การรับประทานอาหารจากข้าว การเก็บรักษาข้าว ประโยชน์ของข้าว

วัตถุประสงค์ของหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ คือ

๑. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านการฟังและการพูด

๒. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเชื่อมโยงภาพกับของจริง

๓. เพื่อส่งเสริมให้เด็กถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้อื่นเข้าใจ

๔. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

๕. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านการคิดสรุปเป็นองค์ความรู้

คำแนะนำวิธีใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ

๑. ใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ตามแผนการจัดประสบการณ์

๒. ใช้ หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเป็นตัวช่วยในการสรุปเนื้อหาของกิจกรรมเสริม ประสบการณ์ในแต่ละวัน โดยครูอ่านคำคล้องจองให้ฟัง และให้เด็กอ่านคำคล้องจองตามครู ๒-๓ ครั้ง

๓. ใช้คำคล้องจองจากหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ในการบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมกลางแจ้ง

ตัวอย่างสื่อ หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ หน่วยธรรมชาติรอบตัว เรื่องดอกไม้สดสวย ชั้นอนุบาลปีที่ 3






ตัวอย่างสื่อ หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ หน่วยธรรมชาติรอบตัว เรื่องข้าวมหัศจรรย์ ชั้นอนุบาลปีที่ 3




























































































































































































































































































































































































































































































































วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

คำตอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

นางสุทธาทิพย์ เมืองสุข เลขที่ 66

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ

ตอบ 1. ใช้ระบบสารสนเทศกับข้อมูลของบุคลากร นักเรียน

2. ช่วยเป็นสื่อการเรียนการสอนให้ความรู้กับผู้เรียน

3. Internet คอมพิวเตอร์ ซีดีที่ใช้ในการสอน รวมทั้งการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศข้อมูล-ของโรงเรียน

4. เก็บรวบรวมการวัดผล ประเมินผลแก่ผู้เรียน

5. ช่วยในการค้นหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั่วโลก

6. คอมพิวเตอร์และสื่อการสอนที่เป็นระบบสารสนเทศได้ เพื่อสะดวกในการหาข้อมูลการเรียนรู้ที่กว้างขึ้นง่ายสะดวกต่อการค้นหา

7. จัดทำ Barcode กับหนังสือทุกเล่ม รหัสบัตรของผู้เข้าใช้ห้องสมุดเพื่อง่ายต่อการค้นหาหนังสือและการยืม-คืน หนังสือในห้องสมุด ทำให้ง่ายต่อการห้าข้อมูล และหาความรู้ที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าจาก Internet โดยผ่านคอมพิวเตอร์ สะดวกต่อการค้นหาหนังสือ การยืมหนังสือ และการคืนหนังสือของผู้เข้าใช้ห้องสมุดอีกด้วย

8. ช่วยในการติดต่อ เชื่อมโยง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน

9. ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้แก่ผู้สนใจเข้ามาดู เว็บไซด์ ข้อมูลของโรงเรียน

…………………………………………………………..

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด

ตอบ เห็นด้วย การจัดแม่บทด้าน ICT ของรัฐบาลเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติ บทลงโทษ กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุม ดูแล ป้องกัน ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในแผนแม่บท เพื่อเป็นการใช้ยึดถือรูปแบบการกระทำในปัจจุบัน การดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่บนพื้นฐานของ ICT ไม่ว่าจะเป็นการประกอบกิจการ การสื่อสาร การหาความรู้ข้อมูลต่างๆ และอีกหลายอย่าง เราจึงจำเป็นต้องมีแบบแผนในการปฏิบัติให้เหมาะสมกับการใช้ เพื่อให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ICT ได้รู้ ได้เข้าใจถึงข้อควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ มีกระบวนการต่างๆ มีการกำหนดบทลงโทษเมื่อมีการกระทำผิด เป็นการป้องกัน ควบคุม ดูแล แก้ไข ให้ผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการ ทราบว่าควรปฏิบัติอย่างไร เมื่อกระทำผิดจะได้รับโทษอย่างไร รวมถึงข้อปฏิบัติของพนักงานเมื่อมีการกระทำผิดขึ้น มีอำนาจกระทำอะไรบ้าง เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตามแผนแม่บท มาตรา 19 ที่ได้ระบุข้อปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่รวมถึงการใช้อำนาจ

จากการศึกษาตามแผนแม่บท มีข้อปฏิบัติที่เป็นการกระทำผิดต่างๆ รวมทั้งบทลงโทษเมื่อกระทำผิดตามแผนแม่บทจะต้องได้รับโทษจากการกระทำผิดอย่างไร อย่างเช่น มาตรา 5 การเข้าถึงข้อมูลโดยละเมิด มีความผิดอย่างไรบ้าง มาตรา 6 ผู้ใดทำให้ผู้อื่นต้องเกิดความเสียหายจากการล่วงรู้ข้อมูลนั้นมีโทษอย่างไร เป็นต้น (อาจยกขึ้นมากกว่านี้ได้ แต่ต้องเข้าใจในแต่ละมาตราที่ยกขึ้นอย่างถ่องแท้) มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับการยกเว้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่ของตนต้องรับโทษอย่างไร มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เกิดความเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลนั้นเป็นของผู้อื่นโดยมิชอบผู้นั้นต้องรับโทษอย่างไรบ้างจากบทบัญญัติดังกล่าว มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์หรือจดหมายอิเลคทรอนิคส์โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นผู้นั้นต้องได้รับโทษอย่างไร

จากที่ได้กล่าวมานั้น แผนแม่บทด้าน ICT ที่รัฐบาลได้จัดทำขึ้น จะเห็นได้ว่ามีการกำหนดข้อปฏิบัติ ข้อการกระทำผิด และบทลงโทษไว้เพื่อให้ผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ยึดถือและปฏิบัติตามเพื่อป้องกัน ค้อมครอง ดูแล

……………………………………………………………

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมาย่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม

ตอบ เห็นด้วย การใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม เปรียบเสมือนข้อบังคับให้กับผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการ ด้านคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในข้อกำหนด บังคับ จำกัดการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตมีบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะป้องกันมิให้

เห็นด้วย เพราะ เป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้จะไม่เห็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่ถ้าการแสดงให้เห็นเข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติที่ถูกต้องหรือบทลงโทษเมื่อเป็นผู้กระทำผิด ก็จะช่วยให้ลดปัญหาอาชญากรรมได้ จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นอย่างมากมาย จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการทางกฎหมายเพื่อควบคุม ดูแล ป้องกันมิให้ใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตก่ออาชญากรรมและอีกทั้งยังสมารถป้องกันได้อีกทางหนึ่ง โดยกระบวนการทางกฎหมายจะกำหนดข้อปฏิบัติว่าอย่างไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ข้อปฏิบัติอย่างไรไม่ถูกต้อง มีบทลงโทษเมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอาชญากรรมหรือลดการกระทำผิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการ เพราะถ้ามีการกำหนดข้อปฏิบัติและบทลงโทษที่แน่นอน โดยให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้บริการ การใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตทราบถึงผลการกระทำ มีตัวอย่างให้เห็นว่ามีการดำเนินการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง อย่างเช่น การดำเนินการทางกฎหมายอื่นๆ เช่น เมื่อมีการละเมิดทางข้อมูลบุคคลอื่นจะได้รับโทษ การแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นจะได้รับโทษทางกระบวนการกฎหมายที่กำหนดไว้ การใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เป็นเหมือนข้อบังคับให้กับผู้ใช้บริการหรือผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต

ดังนั้น การใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาอีกทางที่สามารถจะแสดงให้เห็นผลของการกระทำของผู้ให้บริการหรือผู้ใช้บริการที่เป็นผู้กระทำผิดหรือคิดที่จะกระทำความผิดมีบทลงโทษที่แน่นอน ทำให้ผู้ที่จะกระทำเกิดความกลัวเมื่อกระผิดตามกระบวนการทางกฎหมายเป็นอีกวิธีที่แก้ปัญหาอาชญากรรมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

…………………………………………………………